วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

list shopping in Egypt

Cairo

TVC IN EGYPT

Credit : youtube.com

PrintAD in Egypt


สิ่งมหัศจรรษ์ของอียิปต์

สฟิงซ์ของอียิปต์

มหาสฟิงซ์ และ พีระมิดคาเฟร ในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่าเป็นพันธุ์ที่เราเรียกว่า แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้น มีสัญลักษณ์ ของฟาโรห์อียิปต์แสดงไว้ชัดเจน คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ย และมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์โดยรอบ ว่ากันว่า สฟิงซ์ คือ รูปเหมือนขนาดใหญ่กว่าร่างจริงสองเท่าของฮาร์มาชิส เทพแห่งรุ่งอรุณ เมื่อตอนที่แปลงร่าง เป็นสิงโต มีเศียร เป็นฟาโรห์อียิปต์หรือ "sphingein" แปลว่า "การบีบรัด"

รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) บริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่เกาะพีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) S

พีระมิดอียิปต์


หมู่พีระมิดแห่งกีซาพีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ


หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)





แผนผังหมู่พีระมิดแห่งกิซ่าพีระมิด (Pyramid) ใน ประเทศอียิปต์ มีมากมายหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดจนอาจนับเป็นตัวแทนของพีระมิดอียิปต์ทั้งมวล ได้แก่ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) ( 29°58′45.25″N, 31°08′03.75″E) ซึ่งประกอบไปด้วย



พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (The Great Pyramid of Giza) ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า


พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้งอยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่าพีระมิดคาเฟรคือมหาพีระมิดแห่งกิซ่า ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร


พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ขนาดเล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids)

พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน ด้วยโครงสร้างใหญ่โตและลักษณะรูปทรงเรขาคณิตเฉพาะตัว ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้จากระยะไกล ท
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C






มัมมี่ (Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา
ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%25

อาหารหลักของคนอียิปต์

อาหารหลักของคนอียิปต์
การกินอาหารของคนในตะวันออกกลางจะมีความแตกต่างมากกับคนในเอเชียเราและอาหารหลักของทุกชนชั้นของคนอียิปต์ นั้น คือ ขนมปัง หัวหอม พวกผักต่างๆ แล้วก็ปลาแห้ง นอกจากนี้ คนอียิปต์จะมีน้ำเชื่อมซึ่ง ทำจากผลไม้ อาทิเช่นพวก องุ่น เพื่อให้ได้รสหวานและจะกินกับขนปังซึ่งจะใช้ขนมปังจิ้มกับน้ำเชื่อม และนอกจากนั้น ยังมีการใช้ในน้ำผึ้ง เกลือ กระเทียม หัวหอม ในการปรุงรสให้อร่อยด้วย และนอกจากขนมปังแล้วเขาจะกินโยเกิตย์พร้อมๆกับเมนูอาหารหลักอีกด้วยส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้ก็มี สัตว์ที่นิยมรับประทานก็คือพวก เนื้อแกะ แพะ และเนื้อวัว




อาหารประเภทกาบับ ( Kabab ) ก็เป็นเนื้อ หรือ แพะ ย่างโดยมีเหล็กแหลม เสียบชิ้นเนื้อโดยหมุนชิ้นเนื้อให้ไฟเลียไปทั่วๆ กินกับผักทั้งผักสดเช่น แตงกวา มะเขือเทศ ต้นหอม กับผักดองเช่น แตงกวา มะเขือเปาะ หัวหอม แครอท









อ้างอิง: http://www.igetweb.com/www/youngoasis/index.php?mo=3&art=407384

วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย
เนื่องจากอียิปต์เป็นประเทศที่มีผู้คนมากหมายต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์มีความแตกต่างโดยมีพื้นฐานทางด้านความเชื่อ เช่นมุสลิม คริสต์เตียน ยิว และอื้นๆด้วยความเจริญของประเทศอียิปต์และเป็นประเทศที่ที่ทันสมัยและมีอิทธิผลของวัฒนธรรมตะวันตกมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกอยู่บางมากหรือน้อยก็อยู่ที่เมืองที่มีความเจริญกับความไม่เจริญดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราสามารถพบเห็นมุสลีมะห์ที่ไม่คงความเป็นเอกหลักของเขาสุดแต่ทีจิตสำนึกและความปราถนาของแต่ละคน

สตรี
ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอียิปต์เป็นคนสวยเลยที่เดียว ผู้หญิงชาวอียิปต์เป็นคนที่ได้รับการศึกษาที่ดี เป็นคนทีใช้จ่ายเงินเก่ง การยึดมัยทะนุทะนอม และเอาใจใสจากที่ทีได้รับจากพ่อแม่ของเขาในอียิปต์ 85% จะเก็บตัวเองเป็นผู้หญิงพรมจารี (หญิงบริสุทธิ์)จนกว่าพวกเขาจะได้แต่งงานนีคือคนสามัญชนที่ดีเยี่ยมในตะวันออกกลาง ดังทีผู้ชายเชื่ออยู่เสมอว่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของศีลธรรมและผลของการกระทำที่ดี 90%ของผู้ชายปรารถนาผู้หญิงที่มีความบริสุทธิ์มาแต่งงานด้วย
ปัจจุบันนี้คุณจะเห็นได้ว่าผู้หญิงมากมายสวมผ้าโพกหัวหรือสะพายไหล่ของสตรีซึ่งคลุมเฉพาะศีรษะแต่เปิดเผยใบหน้า และก็มีบางกลุ่มที่ปิดหน้าเผยให้เห็นแต่ดวงตา นิกอบ[1]มันเป็นธรรมดาของทุกวันนี้ทุกวันนี้ผู้หญิงในอียิปต์จำนวนมากสวมผ้าคลุ่มหัวซึ่งเป็นการแสดงถึงความถ่อมตัวหรือมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา

มันเป็นสิ่งสำคัญมากในอิสลามว่าผู้หญิงจะไม่ถูกล่อลวงไปทางคนแปลกหน้าและแสดงความถ่อมตน เราอาจจะเห็นว่ามันไม่ลำบากที่จะกำหนดมโนภาพของลัทธิให้ความเสมอภาคและการเมืองแก่ผู้หญิงทางตะวันตก ดังเช่นบทบาทของการดำเนินชีวิตซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดจาก ค.ศ.1930-1939เป็นต้นผู้หญิงชาวอียิปต์ได้เริ่มเข้าไปทำธุรกิจ(การค้า)และอาชีพอื่นๆอีกมากมาย การเปลียนแปลงทางสังคมได้รับอิทธิผลของการปฏิวัติเดือน ก.ค. 1965 อียิปต์มีอัตราสูงมากของจำนวนผู้หญิงทีทำงานเช่น เป็นหมอ ทันตแพทย์ ทนายความ ศาสตราจารย์ รัฐมนตรี หรือข้าราชการระดับสูง


บุรุษ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความเจริญของตะวันตกได้กลืนความเป็นเอกหลักของคนในตะวันออกกลางและวัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์ถึงไม่หมดไปแต่ตะวันตกก็ได้กลืนไปแล้วในบางส่วนรวมทั้งวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้ชายอียิปต์ด้วย
ผู้ชายในชนบทของประเทศอียิปต์จะแต่งชุดโตบและจะสวมสารบานไว้บนหัวและคนที่มีอาชีพครูสอนศาสนาแต่คนในเมืองใหญ่เช่น เมืองงอเล็กซานเดรีย และเมืองไคโรผู้คนส่วนใหญ่จะสวมเสื่อเชิดกางแกงและรองเท้าหนังโดยเฉพาะคนที่ทำงานในงานบริการเช่น โรงแรมและธนาคารฯล ฯลฯ

ประเพณีวัฒนธรรม

ลักษณะของคนอียิปต์
โดยทั่วไปคนอียิปต์ที่มีการศึกษาดีสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ ได้ และผู้เดินทางท่านใดที่สามารถพูดภาษาอาหรับแม้เพียงไม่กี่คำก็เอาตัวรอดได้ เนื่องจากคนพื้นเมืองโดยทั่วไปมีประเพณีการต้อนรับแขกมาตั้งแต่โบราณแล้ว
คนอียิปต์เป็นคนที่มีอัธยาศัยดี คุ้นเคยต่อนักท่องเที่ยว กระตือรือร้นที่จะทักทายกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และมักจะยินดีที่นักท่องเที่ยวมาเยือนอียิปต์ ในการสนทนา คนอียิปต์มักจะสบตากับคู่สนทนาเพื่อเป็นการให้เกียรติ และชอบใช้สัญลักษณ์ เช่นการใช้สัญญาณมือประกอบการอธิบายต่างๆ ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้แตกต่างจากสากล จึงควรที่จะเรียนรู้จากคนท้องถิ่นไว้บ้าง นอกจากนี้ สุภาพสตรีควรหลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสตัวโดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม และการโอบกอดในที่สาธารณะ
วันสำคัญของอียิปต์
วันที่ 23 กรกฎาคม เป็นวันชาติ (Revolution Day) ของอียิปต์
วันที่ 28 กุมภาพันธ์เป็นวันประกาศเอกราชจากอังกฤษ (เมื่อปี ค.ศ.1953)
เวลาทำงาน
- สถานที่ราชการส่วนใหญ่และธนาคารเปิดทำการระหว่างวันอาทิตย์-พฤหัสบดีเวลา 08.30-15.00 น. แต่สถานที่ราชการบางแห่งจะเปิดทำการเฉพาะวันเสาร์-พุธ เวลา 08.30-14.00 น. ร้านค้าทั่วไปเปิดเวลา 10.00-22.00 น. สำหรับวันศุกร์เปิดสายกว่าวันอื่น เนื่องจากเป็นวันละหมาดประจำสัปดาห์
-ช่วง Ramadan (ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม) เป็นช่วงถือศีลอด หน่วยงานของอียิปต์ไม่สะดวกในการต้อนรับคณะมากนักหากนักท่องเที่ยวเดินทางมาอียิปต์ในช่วงนี้ก็จะได้สัมผัสสภาพชีวิตของช่วงการถือศีลอดของชาวอียิปต์

ขนบธรรมเนียม อียิปต์

ขนบธรรมเนียม อียิปต์





สภาพเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของคนอิยิปต์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร อีกทั้งยังเห็นการใช้ม้าและลาเป็นพาหนะในการเดินทางหรือใช้ขนของ จะพบเห็นแม้ในกรุงไคโร เมืองหลวง สภาพบ้านเมืองก็เต็มไปด้วยตึกที่สร้างไม่เสร็จ (ชั้นบนสุดของตึกจะมีเหล็กโผล่ออกมา) บ้านที่สร้างเสร็จเรียบร้อยจะเสียภาษีแพงมาก ดังนั้นทุกคนจึงไม่สร้างให้เสร็จเสียที
อ้างอิง http://share.psu.ac.th/blog/eng-vd-acaser/733

การเดินทางและการติดต่อภายในประเทศ

การเดินทางและการติดต่อภายในประเทศ
-การเดินทางภายในประเทศสะดวก สามารถสัญจรได้ทั้งทางบก คือรถเมล์ รถแท็กซี่ (แต่สภาพค่อนข้างเก่า และคนขับแท็กซี่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้) รถไฟใต้ดิน (ในกรุงไคโรมี 2 สาย และกำลังสร้างสายที่ 3) ทางน้ำ และทางอากาศ (มีท่าอากาศยานทั้งภายในและระหว่างประเทศแต่ค่อนข้างเนืองแน่นในช่วงเร่งด่วนหรือเทศกาลสำคัญ เช่น ช่วงการไปประกอบพิธีฮัจย์) ท่าเรือหลัก ได้แก่: Alexandria, Port Said, Damieta, Suez, Arish, Ain Sokhna, Sharm El Sheikh ท่าอากาศยานสำคัญ ได้แก่ : Cairo Intl’ Airport, Taba Airport, Sharm El Sheikh, Hurghada, Luxor, Aswan

ทางคมนาคมที่รวดเร็วที่สุดในอียิปต์คือทางใด

-เส้นทางคมนาคมที่รวดเร็วที่สุดในอียิปต์โบราณ ก็คือ การคมนาคมทางแม่น้ำไนล์ เรืออียิปต์จะสร้างด้วยต้นกกหรือไม้ พวกเขาจะใช้เรือสัญจรข้ามไปมาจากระหว่างสองฟากฝั่งแม่น้ำ หากไม่ใช้เรือก็อาจจะใช้วิธีว่ายไปเหมือนจระเข้ก็ได้
-ปัญหาสำคัญในแต่ละปีก็คือ ปีนั้น ๆน้ำจะท่วมขึ้นสูงขนาดไหน เขาจึงใช้วิธีสกัดหินเป็นรอยใช้วัดการขึ้นของน้ำ หินที่ใช้สกัดเป็นรอยบอกความสูงของน้ำนี้เรียกว่า นีโอมิเตอร์(niometer)
-พวกชาวนาจะขุดคูคลองเพื่อนำน้ำเข้าไปรดพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเขาเมื่อตอนที่แม่น้ำไนล์น้ำยังไม่ล้นตลิ่ง พวกเขาใช้คันโพงน้ำที่เรียกว่าชาดัฟ(shaduf) โพงน้ำจากแม่น้ำเข้ามาไว้ใช้ในคูคลอง

ธงชาติ,ตราแผ่นดิน

















การแบ่งเขตการปกครอง


อียิปต์แบ่งเป็น 27 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah):
แผนที่เขตการปกครองของประเทศอียิปต์

เขตผู้ว่าราชการ
ชื่อภาษาอังกฤษ
ประเภท
1
อัดดะเกาะห์ลียะห์ (Ad-Daqahliyah)
ดาคาห์เลีย (Dakahlia)
ล่าง
2
อัลบะห์รัลอะห์มาร์ (Al-Bahr Al-Ahmar)
เรดซี (Red Sea)
เขตแดน
3
อัลบุไฮเราะห์ (Al-Buhayrah)
เบเฮรา (Behera)
ล่าง
4
อัลไฟยุม (Al-Fayyum)
ฟายุม (Fayoum)
บน
5
อัลกะร์บียะห์ (Al-Gharbiyah)
การ์เบีย (Gharbia)
ล่าง
6
อัลอิสกันดะรียะห์ (Al-Iskandariyah)
อเล็กซานเดรีย (Alexandria)
ตัวเมือง
7
อัลอิสมะอิลียะห์ (Al-Isma'iliyah)
อิสไมเลีย (Ismaïlia)
ล่าง
8
อัลจีซะห์ (Al-Jizah)
กิซา (Giza)
บน
9
อัลมินุฟียะห์ (Al-Minufiyah)
เมนูเฟีย (Menoufia)
ล่าง
10
อัลมิเนีย (Al-Minya)
เมเนีย (Menia)
บน
11
อัลกอฮิเราะห์ (Al-Qahirah)
ไคโร (Cairo)
ตัวเมือง
12
อัลกอลยุบียะห์ (Al-Qalyubiyah)
คัลยูเบีย (Kalyoubia)
ล่าง
13
อัลอุกซูร์ (Al-Uqsur)
ลักซอร์ (Luxor)
บน
14
อัลวะดีอัลจะดิด (Al-Wadi al-Jadid)
นิวแวลลีย์ (New Valley)
เขตแดน

เขตผู้ว่าราชการ
ชื่อภาษาอังกฤษ
ประเภท
15
อัชชะร์กียะห์ (Ash-Sharqiyah)
ชาร์เกีย (Sharkia)
ล่าง
16
อัสซุไวส์ (As-Suways)
สุเอซ (Suez)
ตัวเมือง
17
อัสวาน (Aswan)
อัสวาน (Aswan)
บน
18
อัสยูต (Asyut)
อัสยูต (Asyut)
บน
19
บะนิซุไวฟ์ (Bani Suwayf)
เบนี-ซูเอฟ (Beni-Suef)
บน
20
บูร์ซะอิด (Bur Sa'id)
พอร์ตซาอิด (Port Said)
ตัวเมือง
21
ดิมยาต (Dimyat)
ดาเมียตตา (Damietta)
ล่าง
22
จะนุบซินะ (Janub Sina')
เซาท์ไซไน (South Sinai)
เขตแดน
23
คะฟรัชไชค์ (Kafr ash Shaykh)
คาฟร์เอลเชก (Kafr El-Sheikh)
ล่าง
24
มะตรูห์ (Matruh)
มาทรูห์ (Matrouh)
เขตแดน
25
กินะ (Qina)
เคนา (Quena)
บน
26
ชะมัลซินะ (Shamal Sina')
นอร์ทไซไน (North Sinai)
เขตแดน
27
ซุฮัจ (Suhaj)
ซูฮัก (Suhag)
บน

การเมือง

อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทำโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย Mohamed Hosni Mubarak เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน (People’s Assembly) ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Ahmad Nazif ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 2004 อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สำคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา
รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ - สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour - สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จำนวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี

การแต่งกาย



การแต่งกายชุดพื้นเมือง หรือชุดประจำชาติ



ชุดแต่งกายชาย (Jalabia) ที่มีเสื้อคลุมยาว (Camis) เป็นชุดยาวคลุมข้อเท้า เสื้อแขนยาว สวมหมวกทรงกลมใบเล็ก ทับด้วยผ้าคลุมศรีษะ มีเชือกสีดำครอบกันผ้าเลื่อนหลุดผ้าคลุม ชุดประกอบพิธีทางศาสนาประกอบด้วย ผ้าคลุมศรีษะและหมวกกะปิเยาะห์ นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแต่งกายของชาวมุสลิม กะปิเยาะห์ เป็นหมวกของชาวมุสลิมสวมใส่ในการประกอบศาสนกิจ หรือประกอบพิธีละหมาด
ที่มา http://www.ryt9.com/s/expd/643732

ชุดแต่งกายหญิง (Fostan) ที่มีผ้าคลุมหน้า (Nekap) เรียกว่า ฮิญาบ (ภาษาอาหรับ: حجاب) คือผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิมซึ่งศาสนาอิสลามระบุให้ผู้หญิงสวมผ้าคลุมผมจนปิดหน้าอก เพื่อเป็นการปกปิดร่างกายให้มิดชิด เป็นการสำรวม
อาหารการกิน
รูปแบบและรสนิยมการบริโภคของอียิปต์ ในปัจจุบันคนอียิปต์ให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น ประชากรในเมืองใหญ่ที่มีคนวัยหนุ่มสาวจำนวนมากรสนิยมการบริโภคจึงค่อนข้างทันสมัยนิยมใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะการซื้อสินค้าอาหาร คนอียิปต์จะซื้อจากซุปเปอร์มาร์เกตและห้างสรรพสินค้ามากกว่าซื้อจากร้านขนาดเล็กเนื่องจากให้ความสำคัญด้านคุณภาพซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อหรือเป็นกลุ่มผู้ซื้อระดับกลาง-บน Read more: http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=80322#ixzz0sGBLpU73 Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives

อาหารพื้นเมือง อาหารการกินของชาวอียิปต์ได้แก่ ข้าว ขนมปัง ปลา แกะ ไก่ ไก่งวง ทาฮินา (ครีมทำจากงา น้ำมัน กระเทียมและมะนาว) มะเขือเทศ โยเกิร์ตและแตงกวา โดยทานร่วมกับอาหารทั่วไป แต่ละมื้อ
อาหารประจำชาติ ก็จะมีอาหารถั่วฟาวาที่เรียกว่าโฟล ผักและทาน ทามิยา (ลูกชิ้นถั่วเขียวและเครื่องเทศซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าฟาราเฟล) และยังมีขนมปังแผ่นอียิปต์ ทุกมื้อจะมีขนมปังเสมอ โคฟตา (เนื้อบดเสียบไม้ย่างบนไฟ) เคบับ (เหมือนกับโคฟตา แต่ว่าเนื้อไม่ได้บด) ทั้งสองเมนูเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมมากที่สุด เนื้อมีราคาแพง
อาหารว่าง ได้แก ่ขนมปังปิต้ากับทาฮินา หรือ ฮมมส(ทำจากถั่วเขียว) และบาบากะโน (ทำจากมะเขือม่วงบดกับทาฮินา) ดอลมัสหรือใบองุ่นก็เป็นอาหารว่างด้วยเช่นกัน ชาวมุสลิมจะไม่ทานหมูและดื่มสุรา
ที่มาhttp://pirun.ku.ac.th/~b4810294/localfood.html

ประเทศอียิปต์

ประเทศอียิปต์
http://www.oceansmile.com/Egypt/EpOld.htm

ประวัติความเป็นมา ของ ประเทศอียิปต์ ( History )
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ชาวอียิปต์เป็นหนึ่งในกลุ่มชนโบราณพวกแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการสร้างและพัฒนาอารายธรรมของตน เนื่องจากมีปรากฏการธรรมชาติอย่างทะเลทรายซาฮารา ทำให้อียิปต์ปราศจากการคุกคามจากศัตรูทางบกและความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ก็ทำให้ปัญหาความอดอยากแทบไม่ปรากฏด้วย เหตุนี้พวกเขาจึงสามารถ พัฒนาอารายธรรมได้โดยปราศจากอุปสรรคใดๆ
ราวเจ็ดพันปีก่อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ซาฮาราค่อยๆแห้งแล้ง และกลายเป็นทะเลทราย เหลือแต่เพียงพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำไนล์ที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ และเนื่องจากทุกปีแม่น้ำไนล์จะพัดเอาตะกอนหน้าดินมาถมฝั่ง ทำให้พื้นดินแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำและเริ่มมีการเพาะปลูกขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เรียกว่าโนมส์ ในแต่ละโนมส์จะปกครองโดยกลุ่มนักบวชหรือหมอผี ต่อมามีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การจัดระบบชลประทาน ชุมชนก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาเป็นนครรัฐขนาดเล็กๆกระจัดกระจายตามริมฝั่งแม่น้ำดินแดนของแม่น้ำไนล์

นักประวัติศาสตร์แบ่งช่วงเวลาสามพันปีของอียิปต์ออกเป็นช่วงต่างๆ โดยเริ่มจาก • ปลายยุคก่อนราชวงศ์ (3200 ปี ก่อนค.ศ.) เป็นยุคที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นอาณาจักร • ยุคอาณาจักรเก่า (เริ่มตั้งแต่ 2950 - 2150 ปีก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปด • ยุครอยต่อของอาณาจักร (2125 - 1975 ปี ก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่เก้าถึงสิบเอ็ด • ยุคอาณาจักรกลาง (เริ่มตั้งแต่ 1975 - 1520 ปีก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบเจ็ด • ยุคอาณาจักรใหม่ (เริ่มตั้งแต่ 1539 - 1075 ปี ก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบแปดถึงยี่สิบ • ยุคปลายของอาณาจักร (เริ่มตั้งแต่ 1075 - 332ปี ก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงสามสิบเอ็ด
กำเนิดแห่งอาณาจักร ปลายยุคก่อนราชวงศ์ (3200 ปี ก่อนค.ศ.) เป็นยุคที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นอาณาจักร
ในราว 3200 ปีก่อนคริสตกาล ราชาแมงป่อง (Scorpion king) ผู้ครองนครธีส (This) อันตั้งอยู่บริเวณตอนกลางแห่งลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่างๆในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน ราชาแมงป่องปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ นามว่า นาเมอร์ (Namer)ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของฟาโรห์เมเนส(Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์โบราณ
ยุคอาณาจักรเก่า (เริ่มตั้งแต่ 2950 - 2150 ปีก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปดยุคนี้เมืองหลวงของอียิปต์คือ นครเมมฟิส (Memphis) โดยมีพระเจ้าเมเนส (Menes) เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปกครองอียิปต์ทั้งหมด ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า องค์ฟาโรห์คือร่างประทับของสุริยเทพ ที่ลงมาปกครองมนุษย์ • การเมืองการปกครอง : ในสังคมอียิปต์มีการแบ่งออกเป็นสามชนชั้น คือ ชนชั้นสูงได้แก่ เชื้อพระวงศ์ นักบวช ขุนนาง ชนชั้นกลางได้แก่ พ่อค้า เสมียน ช่างฝีมือ และชนชั้นล่างคือพวกชาวนาและผู้ใช้แรงงาน นอกจากฟาโรห์แล้ว บุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดคือหัวหน้านักบวชของสุริยเทพ รา ซึ่งเป็นจอมเทพสูงสุด ในการบริหารงาน ฟาโรห์จะมีคณะเสนาบดีที่นำโดย วิเซียร์ (Vizier) ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางสำคัญ เป็นผู้ช่วย และส่งข้าหลวง (Nomarch) ไปทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยขึ้นตรงต่อองค์กษัตริย์ ในยุคอาณาจักรเก่านี้ อียิปต์ไม่มีกองทหารประจำการ แต่จะเกณฑ์พลเมืองเข้ากองทัพเมื่อเกิดสงคราม • วิถีชีวิต : ชาวอียิปต์โบราณดำรงค์ชีวิตด้วยการกสิกรรม โดยเฉพาะในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงหรือที่เรียกว่าเขตดินสีดำที่ชื่อว่า เคเมต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกได้ผลดี
• การต่างประเทศ :ในยุคอาณาจักรเก่าอียิปต์มีการค้าขายกับเพื่อนบ้านทั้งในเมโสโปเตเมีย (อยู่ในตะวันออกกลาง)และอาณาจักรนูเบียทางภาคใต้(ปัจจุบันคือซูดาน)ในยุคนี้ไม่มีการใช้เงิน การค้าจะทำในแบบของแลกของ โดยสินค้าออกสำคัญของอียิปต์คือพืชผลทางการเกษตร แลกกับสินค้าพวกไม้หอม งาช้าง เครื่องแกะสลัก เป็นต้น แทบไม่มีหลักฐานของการสงครามขนาดใหญ่ในยุคนี้นอกจากหลักฐานการรบกับพวกเรร่อนเบดูอิน ในพรมแดนปาเลสไตน์สมัยฟาโรห์เปปิที่1 แห่งราชวงศ์ที่6 กล่าวได้ว่าสงครามใหญ่เพียงครั้งเดียวของยุคนี้คือสงครามรวมชาติตอนต้นราชวงศ์ที่หนึ่งเท่านั้น

ยุครอยต่อของอาณาจักร (2125 - 1975 ปีก่อนคริสตกาล)
ในยุคนี้เริ่มเกิดความขัดแย้งในราชวงศ์ และเหง่าขุนนาง
นับแต่ก่อตั้งอาณาจักร ดินแดนอียิปต์มีแต่ความสงบสุขและรุ่งเรือง ปราศจากจากสงครามและการคุกคามจากชนต่างชาติ จนถึงปีที่ 2200 ก่อนคริสตกาล ความวุ่นวายและการนองเลือดก็เริ่มเกิดขึ้น สาเหตุมาจากฟาโรห์จะพระราชทานที่ดินให้แก่ขุนนางที่ทำความดีความชอบ โดยที่ดินดังกล่าวจะต้องกลับคืนเป็นของราชสำนักอีกครั้ง เมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง แต่ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าขุนนางเริ่มท้าทายอำนาจฟาโรห์ โดยการแอบโอนถ่ายที่ดินให้แก่ลูกหลาน จนในที่สุดก็กลายเป็นธรรมเนียมว่า ขุนนางสามารถโอนถ่ายที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์สู่ลูกหลานได้ และนำไปสู่การสร้างเขตอิทธิพลของแต่ละตระกูลเหล่าขุนนางต่างสะสมที่ดินและกำลังคนมากขึ้น อำนาจของฟาโรห์ถูกกัดกร่อนลงเรื่อยๆและกลุ่มอิทธิพลที่ทรงอำนาจมากที่สุดก็คือเหล่าหัวหน้านักบวชในอารามสุริยเทพรา
• ปีที่ 2180 ก่อน ค.ศ. อำนาจรัฐของฟาโรห์ที่เมมฟิสสิ้นสุดลง บรรดานครรัฐต่างตั้งตนเป็นอิสระและทำสงครามรบพุ่งกันเอง ดินแดนแม่น้ำไนล์ที่เคยอุดมสมบูรณ์เกิดภัยแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน ฟาโรห์อ่อนแอเกินกว่าที่จะสร้างระบบชลประทานขึ้นมา แก้ปัญหาได้ความอดอยากและภัยสงครามแพร่กระจายทั่วแผ่นดินในที่สุดอิยิปต์ถูกแบ่งเป็นสองเขต คืออิยิปต์ต่ำ ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมมฟิสถูกปกครองโดยตระกูลหนึ่งจากเมืองเฮรักลีโอโพลิส (Herakleopolis) ส่วนอีกเขตหนึ่งคืออียิปต์สูงที่อยู่ทางใต้ของเมมฟิสถูกปกครองโดยตระกูลจากเมืองธีบีส (Thebes) และแล้วในปีที่ 1975ก่อนค.ศ.เจ้าชายนักรบจากธีบีสได้ทำสงครามผนวกอียิปต์ทั้งหมด และ ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ ทรงพระนามว่า มอนตูโฮเทปที่ 2 (Montuhotep)
ยุคอาณาจักรกลาง1975 - 1640 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้ามอนตูโฮเทปที่2 ได้สร้างเมืองหลวงใหม่ที่ ธีบีส ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างโบสถ์ใหญ่อันสวยงามที่ เดียร์ เอล-บาฮารี (Deir el-Bahari) โบสถ์นี้ยังเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์อีกด้วย ต่อมาในสมัยของมอนตูโฮเทปที่ 4 พระองค์ถูกแย่งชิงราชสมบัติ โดยขุนศึกนาม อาเมเนมฮัท (Amenamhat) ซึ่งได้ตั้งราชวงศ์ที่12 ขึ้น ราชวงศ์ที่12 นี้ได้นำความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองกลับมา สู่อียิปต์อีกครั้ง มีการทำเหมืองแร่และอู่ต่อเรือ นอกจากนี้มีการสร้างพีระมิดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่งการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ อำนาจของฟาโรห์กลับมายิ่งใหญ่และมั่งคั่งอีกครั้งหนึ่ง ในยุคนี้ อียิปต์ยังทำศึกกับพวกนูเบียทางใต้ (ปัจจุบันคือ ซูดาน) และแผ่อิทธิพลไปทางภาคตะวันตกเพื่อป้องกันเส้นทางการค้ามีการส่งกองเรือสินค้า ไปค้าขายกับชาวต่างชาติ
การรุกรานของชนต่างชาติ {The invasion from Asia} 1630 - 1520 ก่อนคริสตกาลในช่วงเวลานี้ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้น นั่นคือการรุกรานของพวก ฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งในฦาษาอียิปต์แปลว่า " กษัตริย์ต่างชาติ "ยุคอาณาจักรใหม่ (New kingdom) 1539 - 1075 ปีก่อนคริสตกาลนักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับกันว่ายุคนี้เป็นยุคที่อียิปต์รุ่งเรืองที่สุด โดยหลังจากพวกฮิกโซสถูกขับไล่ไปแล้ว อำนาจของฟาโรห์ เหนือนครต่างๆในลุ่มน้ำไนล์กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ ในยุคของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Thutmosis) แห่งราชวงศ์ที่ 18 ในยุคนี้เมืองหลวงของอียิปต์คือนครธีบส์(Thebes) และฝั่งตรงข้ามของเมืองหลวงคือ หุบเขาแห่งกษัตริย์อันเป็นสถานที่ฝังพระศพฟาโรห์ ในยุคอาณาจักร ใหม่นี้ ทั้งนี้ชาวอียิปต์ได้ยกเลิกประเพณีการสร้างพีระมิดไปตั้งแต่ตอนปลาย ของอาณาจักรเก่าเนื่องจากสิ้น เปลืองวัตถุดิบและหันมาใช้วิธีเจาะหน้าผาเป็นสุสานแทน

•ยุคปลายของอาณาจักร (เริ่มตั้งแต่ 1075 - 332ปี ก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงสามสิบเอ็ด
อียิปต์กลับสู่ความวุ่นวายอีกครั้ง ทั้งจากปัญหาการเมืองและความอดอยาก ในที่สุดอียิปต์ก็แตกแยกกลายเป็นก๊กเป็นเหล่า บรรดาเมืองต่างๆตั้งตนเป็นอิสระ
ในปีที่663 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์อัสซูบานิปาลแห่ง อัสสิเรีย ได้ยกกองทัพเข้ารุกรานอียิปต์ เมืองต่างๆถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกปล้นชิง และอียิปต์ก็ไม่อาจฟื้นตัวได้อีกต่อมาในปีที่525 ก่อน ค.ศ. อียิปต์ก็ถูกปกครองโดยชาวเปอร์เซียและเมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติกรีกพิชิตเปอร์เซียลง อียิปต์ก็ตกเป็นของมาซีโดเนีย
อียิปต์ตกเป็นของมาซีโดเนียหลังการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์จักรวรรดิมาซิโดเนียของพระองค์ล่มสลายลง เหล่าขุนศึกมาซีโดเนียต่างตั้งตนเป็นใหญ่ในดินแดนต่างๆที่พระองค์พิชิตมา นายพลปโตเลมีขุนศึกของพระองค์ก็ตั้งตนเป็นฟาโรห์และ ตั้งราชวงศ์ปโตเลมีซึ่งถือเป็นราชวงศ์สุดท้าย ขึ้นปกครองอียิปต์โดยมีเมืองหลวงที่อเล็กซานเดรีย • ปีที่ 36 ก่อนคริสตกาล พระนางคลีโอพัตราแห่งราชวงศ์ปโตเลมีพ่ายแพ้กองทัพโรมันที่แอคติอุม (Actium) และได้ปลิดชีวิตตนเองลงจากนั้นจักรวรรดิโรมันจึงผนวกอียิปต์เข้าเป็นส่วน หนึ่งของโรมและ นั่นคือการล่มสลายลงโดยสิ้นเชิงจากนั้นมา อียิปต์กลายเป็นเพียงมณฑลหนึ่งของโรมและกลายเป็นของจักรวรรดิไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา และได้ถูกพวกมุสลิมเข้ายึดครองในภายหลัง

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt)
ที่ตั้งในอดีต บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นบริเวณที่มีการไหลผ่านของแม่น้ำทั้งสองฝั่งในเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคมเป็นประจำทุกปี เมื่อน้ำลดโคลนตมที่พัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ทั้งสองฝั่งทำให้ชาวอียิปต์โบราณรวมตัวกันอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำร่วมแรงร่วมใจกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล เกิดการรวมตัวของบ้านเรือนและพัฒนาเป็นนครรัฐ
ที่ตั้งในปัจจุบัน อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทางทิศเหนือของเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกคือทะเลแดงทิศใต้คือนูเบียหรือซูดานปัจจุบัน ตะวันตกคือทะเลทรายสะฮาราแม้อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียจะเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำเช่นเดียวกัน และเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่อียิปต์มีการพัฒนาอารยธรรมที่ต่อเนื่องกว่า และการก่อตั้งอาณาจักรของอียิปต์มีความเข้มแข็งมีเอกภาพมากกว่าเมโสโปเตเมีย เนื่องจากอียิปต์มีพรมแดนธรรมชาติคือทะเลทรายขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบ ได้แก่ ทะเลทรายลิเบียทางด้านทิศตะวันตกทะเลทรายซาฮาราทางทิศตะวันออก ทะเลทรายนูเบียทางทิศใต้ ส่วนทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนชาติอื่น ทำให้สามารถสร้างอารยธรรมอย่างต่อเนื่องมั่นคงเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 3,000 ปี ฟาโรห์ปกครองถึง 31 ราชวงค์ ก่อนสูญเสียอำนาจให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
อียิปต์แบ่งเป็น 2 อาณาจักร ใหญ่ๆ คือ
1. อียิปต์บน (Upper Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา ระหว่างเขื่อนอัสวันและกรุงไคโรในปัจจุบัน มีความยาว 500 ไมล์ กว้าง 15-20 ไมล์ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตา เต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ
2. อียิปต์ล่าง ( Lower Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า (Delta) มีความยาวประมาณ 200 ไมล์ กว้าง 6-22 ไมล์อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้

ลักษณะภูมิประเทศ อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh) สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาวตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the Nile) ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปราการป้องกันศัตรูจากภายนอกทำให้ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย มองไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงชีวิตดำเนินไปเหมือนกันหมด พลังผักดันจากภายนอกที่จะให้มีความปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมีอยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอียิปต์จึงเจริญติดต่อกันมาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
ที่มา http://club.myfri3nd.com/supernatural/webboard/1411/2570

เชื้อชาติ คือ เฟลลาฮีน เบดูอิน และนูเบียน
ที่มา http://board.bodinzone.com/view.php?id=14954&sf=1&a=s&ks=1&kp=&key=




ศาสนา
ศาสนา มุสลิม (สุหนี่) ร้อยละ 94 คริสเตียนคอปติก และอื่น ๆ ร้อยละ 6ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า และมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์ และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย ในปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก เล็กน้อย

วัฒนธรรมชาวอียิปต์
ชาวมุสลิมจะไม่ทานหมูและดื่มสุรา
การพบปะทักทายขึ้นอยู่กับชนชั้นในสังคมซึ่งมีมากหลายแตกต่างกัน
* เพื่อนเพศเดียวกันจะจับมือกันได้ และหอมแก้มซ้ายขวาได้
* ผู้ชายจะทักทายผู้หญิงด้วยการจับมือเท่านั้น หากผู้หญิงยื่นมือให้ก่อน มิฉะนั้นจะเพียงกล่าวคำทักทาย
ที่นี่มักไม่เรียกชื่อต้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตก่อน เพื่อนที่ดีต่อกันมักจะบอกชื่อต้นกันเสมอ และเพิ่มคำนำหน้าชื่อนี้ในบางกรณีที่เป็นทางการ และมักกล่าวคำขอให้พระอัลเลาะห์อวยพรแก่กันและกัน
คนที่เป็นเพศเดียวกัน มักจะยืนชิดกันเวลาสนทนา
เพื่อนเพศเดียวกันที่ดีต่อกันอาจเดินจับมือกันตามที่สาธารณะได้ และคู่แต่งงานหรือคู่หมั้นก็อาจเดินควงแขนได้ แต่ปกติผู้ชายจะไม่ถูกต้องตัวผู้หญิงในที่สาธารณะ
การเยี่ยมเยียนเป็นการแสดงออกถึงความสำคัญในความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นมาแต่อดีตกาล ลูกๆที่แต่งงานแล้วมักไปเยี่ยมพ่อแม่ในวันหยุดและวันศุกร์
การติดต่อธุรกิจมักเริ่มด้วยการสนทนาเรื่องเบาๆและ ตามด้วยกาแฟหรือน้ำชาเพื่อสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อไป
คนรวยมักจะไปสโมสรของเอกชนเพื่อพบปะทางสังคม
ผู้ชายส่วนมากไปพักผ่อนกับเพื่อนตามคอฟฟี่ชอปและเล่นเกมเช่น แบลกกัมมอน โดมิโน ส่วนผู้หญิงอยู่ที่บ้าน ฟุตบอลเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามสโมสรจะมีเทนนิส สควอทช์ ว่ายน้ำ ขี่ม้าเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆตามเมืองต่างๆ
ผู้คนจะนิยมไปดูภาพยนตร์ ซึ่งมีทั้งภาพยนตร์อียิปต์และของชาติอื่นอีกมากมาย
ปฏิทินในอียิปต์ รัฐบาลและธุรกิจใช้ปฏิทินแบบตะวันตกของเกรกอเรียน แต่วันหยุดทางศาสนาใช้ปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งปีทางจันทรคติจะมีจำนวนวันน้อยกว่าประมาณ 11 วัน
ในระหว่างเดือนรามาดาน ชาวมุสลิมจะไม่ดื่มหรือกินอะไรตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนกว่าจะตก จะกินเฉพาะตอนค่ำเท่านั้น เอด เอลฟิทร์
วันหยุดที่สำคัญอันดับ 2 ของอิสลามคือการฉลอง 3 วันเมื่อสิ้นสุดรามาดาน เอด เอล อัดฮา เป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงความปรารถนาของอับราฮัมที่จะบวงสรวงลูกชายของตนต่อพระบัญชาของพระอัลเลาะห์
สัตว์ต่างๆจะถูกบวงสรวงโดยครอบครัวชาวอียิปต์ที่ร่ำรวย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระกรุณาของพระอัลเลาะห์ให้อับราฮัมใช้แกะแทนลูกชายได้ เนื้อสัตว์ที่บวงสรวงก็จะนำไปแจกจ่ายให้ครอบครัวที่ต่ำกว่า
วันของพระมูฮัมหมัด หรือ เมาลิด เอล นาเบ เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญทางศาสนา จะมีการขายขนมหวานตามท้องถนนทั่วไปในการเฉลิมฉลองที่มีสีสัน
ชาม เอล นัสซีน คือวันจันทร์หลังจากเทศกาลคอปติกอีสเตอร์ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองกันมานานหลายพันปี เพื่อต้อนรับสายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ ตามชื่อ คนมักไปปิกนิกริมฝั่งแม่น้ำไนล์
นอกจากนี้ยังมีวันคริสต์มาสต์ของคอปติกตรงกับวันที่ 7 มกราคมและวันอาทิตย์แห่งปาล์มและวันอาทิตย์แห่งอีสเตอร์ในฤดูใบไม้ผลิ วันแรงงานตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม วันปฏิวัติตรงวันที่ 23 กรกฎาคม เฉลิมฉลองการปฏิวัติในปีคริสตศักราช 1952 เปลี่ยนจากระบบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐอิสระ และวันกองทัพในวันที่ 6 ตุลาคมเพื่อรำลึกถึงการโจมตีเพื่อยึดคาบสมุทรซีไนจากอิสราเอลในปี 1973
ที่มา http://www.linethaitravel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262686&Ntype=3

วัฒนธรรมการแต่งกาย
เนื่องจากอียิปต์เป็นประเทศที่มีผู้คนมากหมายต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์มีความแตกต่างโดยมีพื้นฐานทางด้านความเชื่อ เช่นมุสลิม คริสต์เตียน ยิว และอื้นๆด้วยความเจริญของประเทศอียิปต์และเป็นประเทศที่ที่ทันสมัยและมีอิทธิผลของวัฒนธรรมตะวันตกมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกอยู่บางมากหรือน้อยก็อยู่ที่เมืองที่มีความเจริญกับความไม่เจริญดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราสามารถพบเห็นมุสลีมะห์ที่ไม่คงความเป็นเอกหลักของเขาสุดแต่ทีจิตสำนึกและความปรารถนาของแต่ละคน

สตรี
ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอียิปต์เป็นคนสวยเลยที่เดียว ผู้หญิงชาวอียิปต์เป็นคนที่ได้รับการศึกษาที่ดี เป็นคนทีใช้จ่ายเงินเก่ง การยึดมัยทะนุทะนอม และเอาใจใสจากที่ทีได้รับจากพ่อแม่ของเขา
ในอียิปต์ 85% จะเก็บตัวเองเป็นผู้หญิงพรมจารี (หญิงบริสุทธิ์)จนกว่าพวกเขาจะได้แต่งงานนีคือคนสามัญชนที่ดีเยี่ยมในตะวันออกกลาง ดังทีผู้ชายเชื่ออยู่เสมอว่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของศีลธรรมและผลของการกระทำที่ดี 90%ของผู้ชายปรารถนาผู้หญิงที่มีความบริสุทธิ์มาแต่งงานด้วย ปัจจุบันนี้คุณจะเห็นได้ว่าผู้หญิงมากมายสวมผ้าโพกหัวหรือสะพายไหล่ของสตรีซึ่งคลุมเฉพาะศีรษะแต่เปิดเผยใบหน้า และก็มีบางกลุ่มที่ปิดหน้าเผยให้เห็นแต่ดวงตา นิกอบ [1]มันเป็นธรรมดาของทุกวันนี้ทุกวันนี้ผู้หญิงในอียิปต์จำนวนมากสวมผ้าคลุ่มหัวซึ่งเป็นการแสดงถึงความถ่อมตัวหรือมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา
มันเป็นสิ่งสำคัญมากในอิสลามว่าผู้หญิงจะไม่ถูกล่อลวงไปทางคนแปลกหน้าและแสดงความถ่อมตน เราอาจจะเห็นว่ามันไม่ลำบากที่จะกำหนดมโนภาพของลัทธิให้ความเสมอภาคและการเมืองแก่ผู้หญิงทางตะวันตก ดังเช่นบทบาทของการดำเนินชีวิตซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดจาก ค.ศ.1930-1939เป็นต้นผู้หญิงชาวอียิปต์ได้เริ่มเข้าไปทำธุรกิจ(การค้า)และอาชีพอื่นๆอีกมากมาย การเปลียนแปลงทางสังคมได้รับอิทธิผลของการปฏิวัติเดือน ก.ค. 1965 อียิปต์มีอัตราสูงมากของจำนวนผู้หญิงทีทำงานเช่น เป็นหมอ ทันตแพทย์ ทนายความ ศาสตราจารย์ รัฐมนตรี หรือข้าราชการระดับสูง


บุรุษ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความเจริญของตะวันตกได้กลืนความเป็นเอกหลักของคนในตะวันออกกลางและวัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์ถึงไม่หมดไปแต่ตะวันตกก็ได้กลืนไปแล้วในบางส่วนรวมทั้งวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้ชายอียิปต์ด้วย
ผู้ชายในชนบทของประเทศอียิปต์จะแต่งชุดโตบและใส้จะสวมสารบานไว้บนหัวและคนที่มีอาชีพครูสอนศาสนาแต่คนในเมืองใหญ่เช่น เมืองงอเล็กซานเดรีย และเมืองไคโรผู้คนส่วนใหญ่จะสวมเสื่อเชิดกางแกงและรองเท้าหนังโดยเฉพาะคนที่ทำงานในงานบริการเช่น โรงแรมและธนาคารฯล ฯลฯ