ประเทศอียิปต์
http://www.oceansmile.com/Egypt/EpOld.htmประวัติความเป็นมา ของ ประเทศอียิปต์ ( History )
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ชาวอียิปต์เป็นหนึ่งในกลุ่มชนโบราณพวกแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการสร้างและพัฒนาอารายธรรมของตน เนื่องจากมีปรากฏการธรรมชาติอย่างทะเลทรายซาฮารา ทำให้อียิปต์ปราศจากการคุกคามจากศัตรูทางบกและความสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ก็ทำให้ปัญหาความอดอยากแทบไม่ปรากฏด้วย เหตุนี้พวกเขาจึงสามารถ พัฒนาอารายธรรมได้โดยปราศจากอุปสรรคใดๆ
ราวเจ็ดพันปีก่อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ซาฮาราค่อยๆแห้งแล้ง และกลายเป็นทะเลทราย เหลือแต่เพียงพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำไนล์ที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ และเนื่องจากทุกปีแม่น้ำไนล์จะพัดเอาตะกอนหน้าดินมาถมฝั่ง ทำให้พื้นดินแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำและเริ่มมีการเพาะปลูกขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เรียกว่าโนมส์ ในแต่ละโนมส์จะปกครองโดยกลุ่มนักบวชหรือหมอผี ต่อมามีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ การจัดระบบชลประทาน ชุมชนก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาเป็นนครรัฐขนาดเล็กๆกระจัดกระจายตามริมฝั่งแม่น้ำดินแดนของแม่น้ำไนล์
นักประวัติศาสตร์แบ่งช่วงเวลาสามพันปีของอียิปต์ออกเป็นช่วงต่างๆ โดยเริ่มจาก • ปลายยุคก่อนราชวงศ์ (3200 ปี ก่อนค.ศ.) เป็นยุคที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นอาณาจักร • ยุคอาณาจักรเก่า (เริ่มตั้งแต่ 2950 - 2150 ปีก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปด • ยุครอยต่อของอาณาจักร (2125 - 1975 ปี ก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่เก้าถึงสิบเอ็ด • ยุคอาณาจักรกลาง (เริ่มตั้งแต่ 1975 - 1520 ปีก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบเจ็ด • ยุคอาณาจักรใหม่ (เริ่มตั้งแต่ 1539 - 1075 ปี ก่อน ค.ศ.) ประกอบด้วยราชวงศ์ที่สิบแปดถึงยี่สิบ • ยุคปลายของอาณาจักร (เริ่มตั้งแต่ 1075 - 332ปี ก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงสามสิบเอ็ด
กำเนิดแห่งอาณาจักร ปลายยุคก่อนราชวงศ์ (3200 ปี ก่อนค.ศ.) เป็นยุคที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นอาณาจักร
ในราว 3200 ปีก่อนคริสตกาล ราชาแมงป่อง (Scorpion king) ผู้ครองนครธีส (This) อันตั้งอยู่บริเวณตอนกลางแห่งลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่างๆในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน ราชาแมงป่องปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ นามว่า นาเมอร์ (Namer)ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของฟาโรห์เมเนส(Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์โบราณ
ยุคอาณาจักรเก่า (เริ่มตั้งแต่ 2950 - 2150 ปีก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่หนึ่งถึงราชวงศ์ที่แปดยุคนี้เมืองหลวงของอียิปต์คือ นครเมมฟิส (Memphis) โดยมีพระเจ้าเมเนส (Menes) เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปกครองอียิปต์ทั้งหมด ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า องค์ฟาโรห์คือร่างประทับของสุริยเทพ ที่ลงมาปกครองมนุษย์ • การเมืองการปกครอง : ในสังคมอียิปต์มีการแบ่งออกเป็นสามชนชั้น คือ ชนชั้นสูงได้แก่ เชื้อพระวงศ์ นักบวช ขุนนาง ชนชั้นกลางได้แก่ พ่อค้า เสมียน ช่างฝีมือ และชนชั้นล่างคือพวกชาวนาและผู้ใช้แรงงาน นอกจากฟาโรห์แล้ว บุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดคือหัวหน้านักบวชของสุริยเทพ รา ซึ่งเป็นจอมเทพสูงสุด ในการบริหารงาน ฟาโรห์จะมีคณะเสนาบดีที่นำโดย วิเซียร์ (Vizier) ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางสำคัญ เป็นผู้ช่วย และส่งข้าหลวง (Nomarch) ไปทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยขึ้นตรงต่อองค์กษัตริย์ ในยุคอาณาจักรเก่านี้ อียิปต์ไม่มีกองทหารประจำการ แต่จะเกณฑ์พลเมืองเข้ากองทัพเมื่อเกิดสงคราม • วิถีชีวิต : ชาวอียิปต์โบราณดำรงค์ชีวิตด้วยการกสิกรรม โดยเฉพาะในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงหรือที่เรียกว่าเขตดินสีดำที่ชื่อว่า เคเมต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกได้ผลดี
• การต่างประเทศ :ในยุคอาณาจักรเก่าอียิปต์มีการค้าขายกับเพื่อนบ้านทั้งในเมโสโปเตเมีย (อยู่ในตะวันออกกลาง)และอาณาจักรนูเบียทางภาคใต้(ปัจจุบันคือซูดาน)ในยุคนี้ไม่มีการใช้เงิน การค้าจะทำในแบบของแลกของ โดยสินค้าออกสำคัญของอียิปต์คือพืชผลทางการเกษตร แลกกับสินค้าพวกไม้หอม งาช้าง เครื่องแกะสลัก เป็นต้น แทบไม่มีหลักฐานของการสงครามขนาดใหญ่ในยุคนี้นอกจากหลักฐานการรบกับพวกเรร่อนเบดูอิน ในพรมแดนปาเลสไตน์สมัยฟาโรห์เปปิที่1 แห่งราชวงศ์ที่6 กล่าวได้ว่าสงครามใหญ่เพียงครั้งเดียวของยุคนี้คือสงครามรวมชาติตอนต้นราชวงศ์ที่หนึ่งเท่านั้น
ยุครอยต่อของอาณาจักร (2125 - 1975 ปีก่อนคริสตกาล)
ในยุคนี้เริ่มเกิดความขัดแย้งในราชวงศ์ และเหง่าขุนนาง
นับแต่ก่อตั้งอาณาจักร ดินแดนอียิปต์มีแต่ความสงบสุขและรุ่งเรือง ปราศจากจากสงครามและการคุกคามจากชนต่างชาติ จนถึงปีที่ 2200 ก่อนคริสตกาล ความวุ่นวายและการนองเลือดก็เริ่มเกิดขึ้น สาเหตุมาจากฟาโรห์จะพระราชทานที่ดินให้แก่ขุนนางที่ทำความดีความชอบ โดยที่ดินดังกล่าวจะต้องกลับคืนเป็นของราชสำนักอีกครั้ง เมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง แต่ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าขุนนางเริ่มท้าทายอำนาจฟาโรห์ โดยการแอบโอนถ่ายที่ดินให้แก่ลูกหลาน จนในที่สุดก็กลายเป็นธรรมเนียมว่า ขุนนางสามารถโอนถ่ายที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์สู่ลูกหลานได้ และนำไปสู่การสร้างเขตอิทธิพลของแต่ละตระกูลเหล่าขุนนางต่างสะสมที่ดินและกำลังคนมากขึ้น อำนาจของฟาโรห์ถูกกัดกร่อนลงเรื่อยๆและกลุ่มอิทธิพลที่ทรงอำนาจมากที่สุดก็คือเหล่าหัวหน้านักบวชในอารามสุริยเทพรา
• ปีที่ 2180 ก่อน ค.ศ. อำนาจรัฐของฟาโรห์ที่เมมฟิสสิ้นสุดลง บรรดานครรัฐต่างตั้งตนเป็นอิสระและทำสงครามรบพุ่งกันเอง ดินแดนแม่น้ำไนล์ที่เคยอุดมสมบูรณ์เกิดภัยแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน ฟาโรห์อ่อนแอเกินกว่าที่จะสร้างระบบชลประทานขึ้นมา แก้ปัญหาได้ความอดอยากและภัยสงครามแพร่กระจายทั่วแผ่นดินในที่สุดอิยิปต์ถูกแบ่งเป็นสองเขต คืออิยิปต์ต่ำ ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมมฟิสถูกปกครองโดยตระกูลหนึ่งจากเมืองเฮรักลีโอโพลิส (Herakleopolis) ส่วนอีกเขตหนึ่งคืออียิปต์สูงที่อยู่ทางใต้ของเมมฟิสถูกปกครองโดยตระกูลจากเมืองธีบีส (Thebes) และแล้วในปีที่ 1975ก่อนค.ศ.เจ้าชายนักรบจากธีบีสได้ทำสงครามผนวกอียิปต์ทั้งหมด และ ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ ทรงพระนามว่า มอนตูโฮเทปที่ 2 (Montuhotep)
ยุคอาณาจักรกลาง1975 - 1640 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้ามอนตูโฮเทปที่2 ได้สร้างเมืองหลวงใหม่ที่ ธีบีส ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างโบสถ์ใหญ่อันสวยงามที่ เดียร์ เอล-บาฮารี (Deir el-Bahari) โบสถ์นี้ยังเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์อีกด้วย ต่อมาในสมัยของมอนตูโฮเทปที่ 4 พระองค์ถูกแย่งชิงราชสมบัติ โดยขุนศึกนาม อาเมเนมฮัท (Amenamhat) ซึ่งได้ตั้งราชวงศ์ที่12 ขึ้น ราชวงศ์ที่12 นี้ได้นำความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองกลับมา สู่อียิปต์อีกครั้ง มีการทำเหมืองแร่และอู่ต่อเรือ นอกจากนี้มีการสร้างพีระมิดขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่งการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์ อำนาจของฟาโรห์กลับมายิ่งใหญ่และมั่งคั่งอีกครั้งหนึ่ง ในยุคนี้ อียิปต์ยังทำศึกกับพวกนูเบียทางใต้ (ปัจจุบันคือ ซูดาน) และแผ่อิทธิพลไปทางภาคตะวันตกเพื่อป้องกันเส้นทางการค้ามีการส่งกองเรือสินค้า ไปค้าขายกับชาวต่างชาติ
การรุกรานของชนต่างชาติ {The invasion from Asia} 1630 - 1520 ก่อนคริสตกาลในช่วงเวลานี้ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้น นั่นคือการรุกรานของพวก ฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งในฦาษาอียิปต์แปลว่า " กษัตริย์ต่างชาติ "ยุคอาณาจักรใหม่ (New kingdom) 1539 - 1075 ปีก่อนคริสตกาลนักประวัติศาสตร์ต่างยอมรับกันว่ายุคนี้เป็นยุคที่อียิปต์รุ่งเรืองที่สุด โดยหลังจากพวกฮิกโซสถูกขับไล่ไปแล้ว อำนาจของฟาโรห์ เหนือนครต่างๆในลุ่มน้ำไนล์กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ ในยุคของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Thutmosis) แห่งราชวงศ์ที่ 18 ในยุคนี้เมืองหลวงของอียิปต์คือนครธีบส์(Thebes) และฝั่งตรงข้ามของเมืองหลวงคือ หุบเขาแห่งกษัตริย์อันเป็นสถานที่ฝังพระศพฟาโรห์ ในยุคอาณาจักร ใหม่นี้ ทั้งนี้ชาวอียิปต์ได้ยกเลิกประเพณีการสร้างพีระมิดไปตั้งแต่ตอนปลาย ของอาณาจักรเก่าเนื่องจากสิ้น เปลืองวัตถุดิบและหันมาใช้วิธีเจาะหน้าผาเป็นสุสานแทน
•ยุคปลายของอาณาจักร (เริ่มตั้งแต่ 1075 - 332ปี ก่อน ค.ศ.) ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดถึงสามสิบเอ็ด
อียิปต์กลับสู่ความวุ่นวายอีกครั้ง ทั้งจากปัญหาการเมืองและความอดอยาก ในที่สุดอียิปต์ก็แตกแยกกลายเป็นก๊กเป็นเหล่า บรรดาเมืองต่างๆตั้งตนเป็นอิสระ
ในปีที่663 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์อัสซูบานิปาลแห่ง อัสสิเรีย ได้ยกกองทัพเข้ารุกรานอียิปต์ เมืองต่างๆถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกปล้นชิง และอียิปต์ก็ไม่อาจฟื้นตัวได้อีกต่อมาในปีที่525 ก่อน ค.ศ. อียิปต์ก็ถูกปกครองโดยชาวเปอร์เซียและเมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนีย ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติกรีกพิชิตเปอร์เซียลง อียิปต์ก็ตกเป็นของมาซีโดเนีย
อียิปต์ตกเป็นของมาซีโดเนียหลังการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์จักรวรรดิมาซิโดเนียของพระองค์ล่มสลายลง เหล่าขุนศึกมาซีโดเนียต่างตั้งตนเป็นใหญ่ในดินแดนต่างๆที่พระองค์พิชิตมา นายพลปโตเลมีขุนศึกของพระองค์ก็ตั้งตนเป็นฟาโรห์และ ตั้งราชวงศ์ปโตเลมีซึ่งถือเป็นราชวงศ์สุดท้าย ขึ้นปกครองอียิปต์โดยมีเมืองหลวงที่อเล็กซานเดรีย • ปีที่ 36 ก่อนคริสตกาล พระนางคลีโอพัตราแห่งราชวงศ์ปโตเลมีพ่ายแพ้กองทัพโรมันที่แอคติอุม (Actium) และได้ปลิดชีวิตตนเองลงจากนั้นจักรวรรดิโรมันจึงผนวกอียิปต์เข้าเป็นส่วน หนึ่งของโรมและ นั่นคือการล่มสลายลงโดยสิ้นเชิงจากนั้นมา อียิปต์กลายเป็นเพียงมณฑลหนึ่งของโรมและกลายเป็นของจักรวรรดิไบเซนไทน์ในเวลาต่อมา และได้ถูกพวกมุสลิมเข้ายึดครองในภายหลัง
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt)
ที่ตั้งในอดีต บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นบริเวณที่มีการไหลผ่านของแม่น้ำทั้งสองฝั่งในเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคมเป็นประจำทุกปี เมื่อน้ำลดโคลนตมที่พัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ทั้งสองฝั่งทำให้ชาวอียิปต์โบราณรวมตัวกันอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำร่วมแรงร่วมใจกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล เกิดการรวมตัวของบ้านเรือนและพัฒนาเป็นนครรัฐ
ที่ตั้งในปัจจุบัน อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทางทิศเหนือของเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกคือทะเลแดงทิศใต้คือนูเบียหรือซูดานปัจจุบัน ตะวันตกคือทะเลทรายสะฮาราแม้อารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียจะเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำเช่นเดียวกัน และเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่อียิปต์มีการพัฒนาอารยธรรมที่ต่อเนื่องกว่า และการก่อตั้งอาณาจักรของอียิปต์มีความเข้มแข็งมีเอกภาพมากกว่าเมโสโปเตเมีย เนื่องจากอียิปต์มีพรมแดนธรรมชาติคือทะเลทรายขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบ ได้แก่ ทะเลทรายลิเบียทางด้านทิศตะวันตกทะเลทรายซาฮาราทางทิศตะวันออก ทะเลทรายนูเบียทางทิศใต้ ส่วนทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากชนชาติอื่น ทำให้สามารถสร้างอารยธรรมอย่างต่อเนื่องมั่นคงเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 3,000 ปี ฟาโรห์ปกครองถึง 31 ราชวงค์ ก่อนสูญเสียอำนาจให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
อียิปต์แบ่งเป็น 2 อาณาจักร ใหญ่ๆ คือ
1. อียิปต์บน (Upper Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่านหุบเขา ระหว่างเขื่อนอัสวันและกรุงไคโรในปัจจุบัน มีความยาว 500 ไมล์ กว้าง 15-20 ไมล์ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตา เต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ
2. อียิปต์ล่าง ( Lower Egypt)
ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า เดลต้า (Delta) มีความยาวประมาณ 200 ไมล์ กว้าง 6-22 ไมล์อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้
ลักษณะภูมิประเทศ อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้าง เมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ยซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือมีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย หากแต่ร่วมกันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh) สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้กษัตริย์อียิปต์สามารถรวบรวม และปกครองดินแดนทั้งหมดไว้ได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
(1) ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก ทะเลทรายช่วยป้องกันการแทรกซึมของพวกลิเบียจากทะเลทรายทางทิศตะวันตก หรือพวกเอเซียทางทิศตะวันออกและพวกนูเบียจากทิศใต้ การป้องกันตนเองจึงไม่ใช่ปัญหาน่าหนักใจสำหรับผู้ปกครองอียิปต์
(2) แม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง และระบบประสาทในการรวมดินแดนเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่เรือแพล่องไปมาได้สะดวก โดยอาศัยการควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำไนล์ ผู้ปกครองก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน และการถ่ายเทของสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และอาศัยแม่น้ำไนล์เป็นเส้นทางคมนาคม สำหรับการเดินเรือไปเก็บภาษีอากรจากประชาชนตลอดจนเป็นเส้นทางเดินทัพ นอกจากนี้การที่เขตอุดมสมบูรณ์จำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์เป็นแนวยาวตามสองฟากฝั่งทำให้ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณนี้ก็ยังเอื้อให้การปกครองประชาชนเป็นไปโดยง่าย ความอุดมสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอที่อียิปต์ได้รับจากแม่น้ำไนล์ ด้วยเหตุนี้นักภูมิศาสตร์ จึงเรียกอียิปต์ว่า ดอกผลแห่งแม่น้ำไนล์ (Gift of the Nile) ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปราการป้องกันศัตรูจากภายนอกทำให้ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้สึกที่มั่นคงปลอดภัย มองไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงชีวิตดำเนินไปเหมือนกันหมด พลังผักดันจากภายนอกที่จะให้มีความปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมีอยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้อารยธรรมอียิปต์จึงเจริญติดต่อกันมาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
ที่มา
http://club.myfri3nd.com/supernatural/webboard/1411/2570เชื้อชาติ คือ เฟลลาฮีน เบดูอิน และนูเบียน
ที่มา
http://board.bodinzone.com/view.php?id=14954&sf=1&a=s&ks=1&kp=&key=ศาสนา
ศาสนา มุสลิม (สุหนี่) ร้อยละ 94 คริสเตียนคอปติก และอื่น ๆ ร้อยละ 6ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า และมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์ และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย ในปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ และนับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก เล็กน้อย
วัฒนธรรมชาวอียิปต์
ชาวมุสลิมจะไม่ทานหมูและดื่มสุรา
การพบปะทักทายขึ้นอยู่กับชนชั้นในสังคมซึ่งมีมากหลายแตกต่างกัน
* เพื่อนเพศเดียวกันจะจับมือกันได้ และหอมแก้มซ้ายขวาได้
* ผู้ชายจะทักทายผู้หญิงด้วยการจับมือเท่านั้น หากผู้หญิงยื่นมือให้ก่อน มิฉะนั้นจะเพียงกล่าวคำทักทาย
ที่นี่มักไม่เรียกชื่อต้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตก่อน เพื่อนที่ดีต่อกันมักจะบอกชื่อต้นกันเสมอ และเพิ่มคำนำหน้าชื่อนี้ในบางกรณีที่เป็นทางการ และมักกล่าวคำขอให้พระอัลเลาะห์อวยพรแก่กันและกัน
คนที่เป็นเพศเดียวกัน มักจะยืนชิดกันเวลาสนทนา
เพื่อนเพศเดียวกันที่ดีต่อกันอาจเดินจับมือกันตามที่สาธารณะได้ และคู่แต่งงานหรือคู่หมั้นก็อาจเดินควงแขนได้ แต่ปกติผู้ชายจะไม่ถูกต้องตัวผู้หญิงในที่สาธารณะ
การเยี่ยมเยียนเป็นการแสดงออกถึงความสำคัญในความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นมาแต่อดีตกาล ลูกๆที่แต่งงานแล้วมักไปเยี่ยมพ่อแม่ในวันหยุดและวันศุกร์
การติดต่อธุรกิจมักเริ่มด้วยการสนทนาเรื่องเบาๆและ ตามด้วยกาแฟหรือน้ำชาเพื่อสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อไป
คนรวยมักจะไปสโมสรของเอกชนเพื่อพบปะทางสังคม
ผู้ชายส่วนมากไปพักผ่อนกับเพื่อนตามคอฟฟี่ชอปและเล่นเกมเช่น แบลกกัมมอน โดมิโน ส่วนผู้หญิงอยู่ที่บ้าน ฟุตบอลเป็นกีฬาประจำชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามสโมสรจะมีเทนนิส สควอทช์ ว่ายน้ำ ขี่ม้าเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆตามเมืองต่างๆ
ผู้คนจะนิยมไปดูภาพยนตร์ ซึ่งมีทั้งภาพยนตร์อียิปต์และของชาติอื่นอีกมากมาย
ปฏิทินในอียิปต์ รัฐบาลและธุรกิจใช้ปฏิทินแบบตะวันตกของเกรกอเรียน แต่วันหยุดทางศาสนาใช้ปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งปีทางจันทรคติจะมีจำนวนวันน้อยกว่าประมาณ 11 วัน
ในระหว่างเดือนรามาดาน ชาวมุสลิมจะไม่ดื่มหรือกินอะไรตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนกว่าจะตก จะกินเฉพาะตอนค่ำเท่านั้น เอด เอลฟิทร์
วันหยุดที่สำคัญอันดับ 2 ของอิสลามคือการฉลอง 3 วันเมื่อสิ้นสุดรามาดาน เอด เอล อัดฮา เป็นวันหยุดที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงความปรารถนาของอับราฮัมที่จะบวงสรวงลูกชายของตนต่อพระบัญชาของพระอัลเลาะห์
สัตว์ต่างๆจะถูกบวงสรวงโดยครอบครัวชาวอียิปต์ที่ร่ำรวย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระกรุณาของพระอัลเลาะห์ให้อับราฮัมใช้แกะแทนลูกชายได้ เนื้อสัตว์ที่บวงสรวงก็จะนำไปแจกจ่ายให้ครอบครัวที่ต่ำกว่า
วันของพระมูฮัมหมัด หรือ เมาลิด เอล นาเบ เป็นอีกวันหนึ่งที่สำคัญทางศาสนา จะมีการขายขนมหวานตามท้องถนนทั่วไปในการเฉลิมฉลองที่มีสีสัน
ชาม เอล นัสซีน คือวันจันทร์หลังจากเทศกาลคอปติกอีสเตอร์ ซึ่งมีการเฉลิมฉลองกันมานานหลายพันปี เพื่อต้อนรับสายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ ตามชื่อ คนมักไปปิกนิกริมฝั่งแม่น้ำไนล์
นอกจากนี้ยังมีวันคริสต์มาสต์ของคอปติกตรงกับวันที่ 7 มกราคมและวันอาทิตย์แห่งปาล์มและวันอาทิตย์แห่งอีสเตอร์ในฤดูใบไม้ผลิ วันแรงงานตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม วันปฏิวัติตรงวันที่ 23 กรกฎาคม เฉลิมฉลองการปฏิวัติในปีคริสตศักราช 1952 เปลี่ยนจากระบบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐอิสระ และวันกองทัพในวันที่ 6 ตุลาคมเพื่อรำลึกถึงการโจมตีเพื่อยึดคาบสมุทรซีไนจากอิสราเอลในปี 1973
ที่มา http://www.linethaitravel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=262686&Ntype=3
วัฒนธรรมการแต่งกาย
เนื่องจากอียิปต์เป็นประเทศที่มีผู้คนมากหมายต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรมทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์มีความแตกต่างโดยมีพื้นฐานทางด้านความเชื่อ เช่นมุสลิม คริสต์เตียน ยิว และอื้นๆด้วยความเจริญของประเทศอียิปต์และเป็นประเทศที่ที่ทันสมัยและมีอิทธิผลของวัฒนธรรมตะวันตกมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกอยู่บางมากหรือน้อยก็อยู่ที่เมืองที่มีความเจริญกับความไม่เจริญดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราสามารถพบเห็นมุสลีมะห์ที่ไม่คงความเป็นเอกหลักของเขาสุดแต่ทีจิตสำนึกและความปรารถนาของแต่ละคน
สตรี
ผู้หญิงจำนวนมากในประเทศอียิปต์เป็นคนสวยเลยที่เดียว ผู้หญิงชาวอียิปต์เป็นคนที่ได้รับการศึกษาที่ดี เป็นคนทีใช้จ่ายเงินเก่ง การยึดมัยทะนุทะนอม และเอาใจใสจากที่ทีได้รับจากพ่อแม่ของเขา
ในอียิปต์ 85% จะเก็บตัวเองเป็นผู้หญิงพรมจารี (หญิงบริสุทธิ์)จนกว่าพวกเขาจะได้แต่งงานนีคือคนสามัญชนที่ดีเยี่ยมในตะวันออกกลาง ดังทีผู้ชายเชื่ออยู่เสมอว่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของศีลธรรมและผลของการกระทำที่ดี 90%ของผู้ชายปรารถนาผู้หญิงที่มีความบริสุทธิ์มาแต่งงานด้วย ปัจจุบันนี้คุณจะเห็นได้ว่าผู้หญิงมากมายสวมผ้าโพกหัวหรือสะพายไหล่ของสตรีซึ่งคลุมเฉพาะศีรษะแต่เปิดเผยใบหน้า และก็มีบางกลุ่มที่ปิดหน้าเผยให้เห็นแต่ดวงตา นิกอบ [1]มันเป็นธรรมดาของทุกวันนี้ทุกวันนี้ผู้หญิงในอียิปต์จำนวนมากสวมผ้าคลุ่มหัวซึ่งเป็นการแสดงถึงความถ่อมตัวหรือมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา
มันเป็นสิ่งสำคัญมากในอิสลามว่าผู้หญิงจะไม่ถูกล่อลวงไปทางคนแปลกหน้าและแสดงความถ่อมตน เราอาจจะเห็นว่ามันไม่ลำบากที่จะกำหนดมโนภาพของลัทธิให้ความเสมอภาคและการเมืองแก่ผู้หญิงทางตะวันตก ดังเช่นบทบาทของการดำเนินชีวิตซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดจาก ค.ศ.1930-1939เป็นต้นผู้หญิงชาวอียิปต์ได้เริ่มเข้าไปทำธุรกิจ(การค้า)และอาชีพอื่นๆอีกมากมาย การเปลียนแปลงทางสังคมได้รับอิทธิผลของการปฏิวัติเดือน ก.ค. 1965 อียิปต์มีอัตราสูงมากของจำนวนผู้หญิงทีทำงานเช่น เป็นหมอ ทันตแพทย์ ทนายความ ศาสตราจารย์ รัฐมนตรี หรือข้าราชการระดับสูง
บุรุษ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความเจริญของตะวันตกได้กลืนความเป็นเอกหลักของคนในตะวันออกกลางและวัฒนธรรมการแต่งกายของคนอียิปต์ถึงไม่หมดไปแต่ตะวันตกก็ได้กลืนไปแล้วในบางส่วนรวมทั้งวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้ชายอียิปต์ด้วย
ผู้ชายในชนบทของประเทศอียิปต์จะแต่งชุดโตบและใส้จะสวมสารบานไว้บนหัวและคนที่มีอาชีพครูสอนศาสนาแต่คนในเมืองใหญ่เช่น เมืองงอเล็กซานเดรีย และเมืองไคโรผู้คนส่วนใหญ่จะสวมเสื่อเชิดกางแกงและรองเท้าหนังโดยเฉพาะคนที่ทำงานในงานบริการเช่น โรงแรมและธนาคารฯล ฯลฯ